เกี่ยวกับ Kaplan International English โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษต่างประเทศระดับ World Class



โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษต่างประเทศ Kaplan International English มีโรงเรียนมากกว่า 40+ แห่งในประเทศต่างๆ ที่เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีทั่วโลก เช่น สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา และ แคนาดา โรงเรียนของ Kaplan International English ตั้งอยู่ในสถานที่แตกต่างกันไปตั้งแต่ในย่านใจกลางเมืองจนกระทั่งภายในวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ และไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนใดของ Kaplan International English ท่านมั่นใจได้ว่าจะได้เรียนภาษาอังกฤษในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนมากที่สุด โรงเรียนทุกแห่งของเรามีอุปกรณ์การเรียนการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ให้นักเรียนอย่างเพียบพร้อม และยังสามารถเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของเมืองต่างๆได้อย่างสะดวกสบาย





Kaplan International Colleges เป็นโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษต่างประเทศระดับ World Class ด้วยโปรแกรมหลักสูตรเรียนภาษาอังกฤษต่างๆมากมายทั่วโลก โรงเรียนของเราได้รับการรับรองมาตรฐานการเรียนการสอนจากนานาชาติ ถึงคุณภาพและการดูแลเอาใจใส่นักเรียนอย่างสูงสุด ซึ่งมั่นใจได้ว่านักเรียนของเราทุกคนจะได้รับการศึกษาที่สมบรูณ์แบบมากที่สุดในระหว่างที่เรียนกับเรา และด้วยประสบการณ์กว่า 70 ปี โรงเรียนกว่า 45 แห่งทั่วโลกที่ได้รับการรับรองมาตราฐานทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นเรียนต่อต่างประเทศ เรียนภาษาอังกฤษ ระยะสั้น ระยะยาว เป็นหนึ่งในความสำเร็จของนักเรียนที่มาจากกว่า 100 ประเทศทั่วโลกที่เลือกที่ศึกษาภาษาอังกฤษกับเรา ด้วยการดูแลอย่างใกล้ชิด การเรียนการสอนที่ทันสมัยและคุ้มค่าเรียน


คลิกอ่ายรายละเอียดของ Kaplan International English ในแต่ละประเทศได้เลย



 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ adwise-education.com หรือที่เบอร์ 02-644-5777

เทคนิควิธีการเลือกโรงเรียนสอนภาษา

เทคนิควิธีการจะดูว่าโรงเรียนภาษาน่าเรียนหรือเปล่า

เป็นการเปรียบเทียบหลังจากน้อง ๆ เลือกได้แล้วว่าจะไปเรียนที่ประเทศไหน พร้อมกับมีงบประมาณในใจ ที่เหลือก็คือการมาเลือกโรงเรียนที่ดีที่สุดกันค่า เรามาดูกันว่ามีเกณฑ์อะไรให้เราช่วยตัดสินใจได้บ้างนะคะ

-  Nationality Mix

ความหลากหลายทางเชื้อชาติของนักเรียนในโรงเรียน เช่น ต้องไม่มีประเทศใดประเทศหนึ่งเยอะเกินไป ซึ่งจะทำให้การเรียนภาษาอังกฤษ ไม่ได้ผลเท่าที่ควร บางแห่ง เจอแต่คนไทย บางแห่งเจอแต่เกาหลีญี่ปุ่น ล้วน ๆ เวลา Search ลองหาว่า Nationality Mix ของโรงเรียนนั้นเป็นยังไงนะคะ ยิ่งหลากหลาย ยิ่งเรียนรู้ได้ดี และแสดงถึงการจัดการที่ดีของโรงเรียนด้วยค่ะ

-  Levels

ดูจำนวน Level ว่ามีกี่ระดับค่ะ บางโรงเรียนมี 4 ระดับ มีทั้งเด็กเก่งมาก เก่งปานกลาง ปนกัน เวลาสอนจะไม่ได้ผลเท่าที่ควรค่า ยิ่งแบ่ง Level เยอะ ๆ ละเอียด โรงเรียนใช้ต้นทุนสูงค่ะ เช่นจำวนนักเรียนนักเรียนในห้องอาจจะไม่ถึงเกณฑ์ที่จะคุ้มทุน แต่ก็ต้องเปิดคลาสให้เรียน ใช้ครูเยอะขึ้น หนังสือเยอะขึ้น แต่เป็นผลดีกับเด็กมากกว่าค่ะ

-  Class average

จำนวนนักเรียนเฉลี่ยต่อห้อง และมากสุดต่อห้องไม่เกินกี่คน 12 – 15 นี้เป็นจำนวนเฉลี่ยค่ะ ถ้าจะให้ดีก็อยู่ที่ 8 – 10 แต่มากสุดนี่ไม่ควรเกิน 18 นะคะ

-  English courses

ความหลากหลายของคอร์สภาษาค่ะ บางโรงเรียนมีสอนแค่ General English / Academic English / IELTS Preparation เท่านั้น ซึ่งมันไม่ตอบโจทย์ ของโรงเรียนส่วนใหญ่ตอนเราไปถึง ภาษาเราอาจยังไม่ดีมาก ยังไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรยังไงดี ก็เริ่มเรียน General English ก่อน พอเราเริ่มดีขึ้น เราคิดว่าอยากเอามาใช้เรื่องการทำงานที่ไทย ก็อาจย้ายไปเรียน Business English หรืออยากเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย ก็ย้ายไปเรียน Academic English หรือถ้าอยากสอบ IELTS เพื่อไว้ยื่นเข้ายู หรือไว้แนบเวลาสมัครงาน แต่ยังไม่รู้ว่า IELTS คืออะไร ก็มีคลาสพิเศษ มีให้ทดลองสอบ ให้ลองเรียนดีก่อน ถ้าชอบก็ย้ายไปเรียนคลาสเตรียมสอบ IELTS ได้ค่ะ เปลี่ยนได้ตามใจชอบ (ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ และสอบวัดระดับภาษาผ่านด้วยนะคะ) แบบนี้ตอบโจทย์มากกว่าค่ะ

-  Student Supports

นอกจากคุณภาพการเรียนการสอนที่ดีแล้ว เจ้าหน้าที่ Student service ที่คอยให้บริการเรื่องอื่น ๆ เวลามีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเจ็บป่วย หางานพิเศษ โฮมสเตย์ การร่วมกิจกรรมนอกชั้นเรียน

 -  Feedback from students

หาข้อมูลจากนักเรียนที่เคยไปเรียนว่าเป็นยังไง

 

เอเจ้นที่ดี ต้องบอกทั้งข้อดีและข้อเสียของโรงเรียนนั้น โรงเรียนที่ดีที่สุดอาจจะไม่ได้เหมาะกับเราที่สุด เช่น งบเราอาจไม่ถึง หรือโรงเรียนเน้นคอร์ส Conversation แต่เราอยากเรียนเข้ามหาวิทยาลัย ต้องเลือกให้เหมาะที่สุดกับความต้องการแล้วก็เงื่อนไขของเราเองนะค้า

 

หาโจทย์ตัวเองให้เจอ แล้วหาเอเจ้นท์ดี ๆ มาตอบโจทย์ให้ ....... พร้อมแล้วก็ลุยเลยค่ะ 

Photo from Greenwich College, Sydney

เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย ก่อนไปอเมริกา

ประเทศสหรัฐอเมริการมีวิถีการปฏิบัติในชีวิตประจำวันบางส่วนที่คล้ายกับประเทศอื่นๆในแถบตะวันตกและก็มีบางส่วนที่แตกต่างเช่นกันแอดไวซ์จึงเอาวิธีปฏิบัติในชีวิตประจำวันง่ายๆสำหรับน้องๆที่จะไปเรียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกามาฝากค่ะ

Register to read more...

เกี่ยวกับหนังสือเดินทาง ( Passport )

การเดินทางไปท่องเที่ยวหรือศึกษาต่อในต่างประเทศนั้น ผู้เดินทางจะต้องมีเอกสารที่ใช้ยืนยันการเป็นประชากรของประเทศบ้านเกิด ซึ่งก็คือ Passport หรือ หนังสือเดินทาง นั่นเองค่ะ หนังสือเดินทางจะทำหน้าที่เปรียบเสมือนกับบัตรประจำตัวประชาชนในขณะที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ น้องๆที่เดินทางไปศึกษาต่อก็จะต้องใช้ในการทำธุรกรรมต่างๆมากมาย เช่น ติดต่อกับโรงเรียน เปิดบัญชีธนาคาร หรือ ใช้สำหรับซื้อตั๋วเดินทางราคาพิเศษ เป็นต้น

หลังจากที่น้องๆได้รับการปรึกษาและตัดสินใจที่จะเดินทางไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือทำการสมัครเรียนค่ะ เอกสารสำคัญที่ใช้ในการสมัครเรียนนั้นต้องใช้หนังเดินทางของน้องๆมาเป็นหลักฐานอ้วงอิงในการสมัครค่ะ โดยเจ้าหน้าที่จะออกจดหมายตอบรับจากโรงเรียนโดยอ้างอิง ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิดของนักเรียนจากหน้าพาสปอร์ตค่ะ

น้องๆที่ยังไม่เคยทำหนังสือเดินทาง สามารถศึกษาขั้นตอนการทำหนังสือเดินทางดังนี้ค่ะ

เอกสารที่ต้องใช้ในการทำหนังสือเดินทาง (Passport)

 สำหรับการขอทำหนังสือเดินทางสำหรับประชาชนทั่วไป ที่อายุเกิน 20 ปีขึ้นไปแล้ว จะต้องเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอทำหนังสือเดินทาง ดังนี้

1.  บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งานหรือ บัตรข้าราชการ หรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับจริง (ในกรณีที่เป็นบัตรข้าราชการให้นำสำเนาทะเบียนบ้านมาด้วย)

2.  หากมีรายการแก้ไขชื่อสกุล หรือวันเดือนปีเกิด ฯลฯ ซึ่งไม่ตรงกับบัตรประชาชนให้นำหลักฐานการแก้ไขที่เกี่ยวข้องมาแสดงด้วย เช่น หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ

3.  การทำหนังสือเดินทางใหม่ ต้องเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

 

กรณีที่ผู้ยื่นขอเป็นผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี ก็จะมีรายละเอียดเอกสารที่ต่างออกไป ดังนี้

1.  สูติบัตรฉบับจริง หากเป็นฉบับสำเนาก็ต้องได้รับการรับรองจากเขตหรืออำเภอ

2.  บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งานหรือ บัตรที่ใช้แทนได้ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ของบิดา มารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริง และหากชื่อ-นามสกุล บิดา มารดา ในสูติบัตรไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย ในกรณีที่มารดาหย่าและจดทะเบียนสมรสใหม่ และใช้นามสกุลใหม่ตามสามีให้นำหลักฐานการหย่าและการสมรสที่เป็นต้นฉบับมา แสดงด้วย

3.  หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ และบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดา มารดา ในกรณีที่บิดา/มารดาหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถมาแสดงตัวได้

4.  เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิหลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตร หรือรับบุตรบุญธรรม บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาหรือมารดา เป็นต้น

5.  การทำหนังสือเดินทางใหม่ ต้องเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

6.  ส่วนในกรณีต่าง ๆ เช่น กรณี บิดา มารดา ของผู้เยาว์เสียชีวิต,กรณีที่บิดา มารดา ของผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติที่มิได้จดทะเบียนสมรส,กรณีที่ไม่สามารถตามหา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้,รณีบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตร อยู่ในความดูแลของบิดาฝ่ายเดียวมาตลอด และไม่สามารถตามหามารดาได้ ซึ่งกรณีเหล่านี้ให้นำคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจปกครองมาแสดงด้วย

 

กรณีหากเป็นผู้เยาว์ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ก็สามารถขอทำหนังสือเดินทางด้วยตัวเองได้โดยใช้เอกสาร ดังนี้

1.  บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทย

2.  หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่ผ่านการรับรองจากอำเภอหรือเขต และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครองพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

3.  เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ หลัก ฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรมใบสำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนบ้าน คำสั่งศาลกรณีระบุผู้มีอำนาจปกครองแทนบิดามารดา เป็นต้น

4.  เสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

 

ขั้นตอนการขอหนังสือเดินทาง

1. รับบัตรคิว

2. ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก (หากไม่มีเลข 13 หลัก ต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดง) พร้อมเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่จำเป็น เพื่อตรวจสอบข้อมูล

 3. ในการทำหนังสือเดินทางจะมีการเก็บข้อมูลทางชีวภาพ คือ มีการวัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือนิ้วชี้ซ้าย และนิ้วชี้ขวาด้วยเครื่องสแกนเนอร์ และถ่ายรูปใบหน้า

4.แจ้งความประสงค์ว่าจะมารับหนังสือเดินทางด้วยตัวเอง หรือต้องการขอรับเล่มทางไปรษณีย์

5.ชำระ ค่าธรรมเนียมการทำหนังสือเดินทาง 1,000 บาท หากต้องการให้จัดส่งทางไปรษณีย์ จะต้องชำระค่าส่งไปรษณีย์ เพิ่มเติมอีก 40 บาท จากนั้นรับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่ม    

 

เมื่อไหร่จะได้รับหนังสือเดินทาง

1.  กรณี ยื่นขอทำหนังสือเดินทางที่กรมการกงสุล หรือสำนักงานสาขาในกรุงเทพฯ คือที่ปิ่นเกล้า และบางนา จะสามารถรับหนังสือเดินทางได้ภายใน 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง และหากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ (ไม่รวมวันเสาร์-อาทิตย์)

2.  กรณี ยื่นคำร้องที่สำนักงานสาขาในต่างจังหวัด หนังสือเดินทางจะจัดส่งให้ทางไปรษณีย์เท่านั้น โดย จะได้รับหนังสือเดินทางภายใน 5 วันทำการ ไม่นับวันยื่นคำร้อง และวันเสาร์-อาทิตย์

 

หลักฐานที่ใช้ประกอบการรับหนังสือเดินทาง

 กรณีรับด้วยตัวเอง

 1.บัตรประชาชนตัวจริงของผู้รับ

 2.ใบรับหนังสือเดินทาง

กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นมารับแทน

 1.บัตรประชาชนตัวจริงของผู้ถือหนังสือเดินทาง

 2.บัตรประชาชนตัวจริงของผู้รับแทน

 3.ใบรับหนังสือเดินทางที่ลงนามมอบอำนาจแล้ว

 

หนังสือเดินทางหาย ทำอย่างไร

1.  กรณีที่ทำหนังสือเดินทางสูญหายในประเทศ  ต้องติดต่อแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและรับใบแจ้งความจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อมายื่นขอทำหนังสือเดินทางฉบับใหม่ และยกเลิกการใช้งานหนังสือเดินทางฉบับที่สูญหาย

2.  กรณีที่ทำหนังสือเดินทางสูญหายในต่างประเทศ  ต้องแจ้งความหนังสือเดินทางสูญหายต่อทางการท้องถิ่น และนำใบรับแจ้งความดังกล่าวนั้นพร้อมเอกสารแสดงการมีสัญชาติไทยของตน หรือเอกสารทะเบียนราษฎรที่มีอยู่ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ฯลฯ ไปติดต่อที่สถานทูต สถานกงสุลไทยที่ใกล้ที่สุด เพื่อขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่

3.  กรณีที่ทำหนังสือเดินทางสูญหายในต่างประเทศแล้วต้องการเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการเร่งด่วน ไม่สามารถรอรับหนังสือเดินทางได้ สถานทูตสถานกงสุลจะออกเอกสารเดินทาง (Certificate of Identity) ให้ใช้เดินทางกลับประเทศไทยได้ครั้งเดียว เมื่อกลับถึงประเทศไทยแล้วเอกสารเดินทางจะหมดอายุการใช้งานทันที

 

สถานที่ทำหนังสือเดินทางในกรุงเทพฯ 

กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ    

 ที่อยู่ 123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210  

โทรศัพท์ 02 203 5000 กด 1 (เมื่อเข้าสู่ระบบกรมการกงสุล กด 5 เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่)

สำนักงานหนังสือเดินทาง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา   

ที่อยู่ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา(อาคารบี ประตูฝั่งทิศตะวันออก)

ชั้น 7 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา   

ที่อยู่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลซิตี้บางนาอาคาร"บางนาฮอลล์"(ด้านข้างศูนย์การค้า) ชั้น B

โทรศัพท์ 0-2383-8402-4    โทรสาร 0-2383-8398

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า

ที่อยู่ ชั้น 5 อาคารเทสโก้โลตัส เลขที่ 3 ถนนบรมราชชนนี 11 แขวงอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กทม. 10700                                            โทรศัพท์ 0-2433-0280-87   โทรสาร 0-2433-2554

สำนักงานหนังสือเดินทาง ศูนย์บริการการไปทำงานต่างประเทศ   

(รับทำหนังสือเดินทางเฉพาะผู้ที่มีใบส่งตัวจากกรมการจัดหางานเท่านั้น)

ที่อยู่ อาคารประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ดินแดง กทม.

โทรศัพท์ 0-2245-9439 0-2245-1042  โทรสาร 0-2245-9438

 

สถานที่ทำหนังสือเดินทางในต่างจังหวัด

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วครา เชียงใหม่  

 

ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ 50000

 

โทรศัพท์ 0-5389-1535-6  โทรสาร 0-5389-1534

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เชียงราย   

 

ที่อยู่ อาคารนันทนาการในศูนย์บูรณาการเรียนรู้และนันทนาการ(สนามกีฬา)

 

โทรศัพท์ 0-5360-1323

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว พิษณุโลก 

 

ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ถนนเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000

 

 โทร 055-258-173, 055-258-155, 055-258-131, โทรสาร 055-258-117

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครสวรรค์   

 

ที่อยู่ ศูนย์บริการร่วมจังหวัดนครสวรรค์ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง

 

จังหวัดนครสวรรค์ 60000

 

โทรศัพท์ 056-233-453, 056-233-454  โทรสาร056-233-452

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว อุดรธานี   

 

ที่อยู่ศูนย์อเนกประสงค์ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี(ตรงข้ามกับศาลหลักเมือง)

 

ถนนอธิบดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000

 

โทร 042-212827, 042-212-318 โทรสาร 042-222-810

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ขอนแก่น   

 

ที่อยู่ หอประชุมอำเภอเมืองขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000

 

โทรศัพท์ 0-4324-2707,0-4324-2655 โทรสาร 0-4324-3441

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว อุบลราชธานี    

 

ที่อยู่อาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำเภอเมือง

 

จังหวัดอุบลราชธานี 34000 (ใกล้กับทุ่งศรีเมือง)

 

โทรศัพท์ 045-242313-4 โทรสาร 045-242301

 

E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.    

 

http://www.facebook.com/ubonpassport

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครราชสีมา   

 

ที่อยู่ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ถนนมหาดไทยอำเภอเมือง  จังหวัดนครราชสีมา 30000 

 

โทร 044-243-132, 044-243-124 โทรสาร 044-243-133

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จันทบุรี    

 

ที่อยู่ อาคารลานค้าชุมชน ถ.เลียบเนิน ต.วัดใหม่ อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000 

 

โทรศัพท์ 039-301-706-9 โทรสาร 039-301-707

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สุราษฎร์ธานี     

 

ที่อยู่ศาลาประชาคม ถนนหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000

 

โทรศัพท์ 077-274940,077-274942-3  โทรสาร 077-274941

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ภูเก็ต  

 

ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ถนนนริศร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000

 

โทรศัพท์ 076-222-080, 076-222-081, 076-222-083 โทรสาร 076-222-082

 

 สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สงขลา

 

 ที่อยู่  ศูนย์ราชการจังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จ.สงขลา 90000

 

 โทรศัพท์ 074-326508-10  โทรสาร 074-326511

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ยะลา  

 

ที่อยู่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)

 

ถนนสุขยางค์ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000

 

โทรศัพท์ 073-274-526, 073-274-036, 073-274-037

 

โทรสาร 073-274-527


ที่มา: กรมการกงศุล, กระทรวงการต่างประเทศ

 

รู้ไว้ใช่ว่าก่อนไปอังกฤษ

แต่ละประเทศมักจะมีขนบธรรมเนียม มารยาททางสังคมที่แตกต่างกันค่ะ แอดไวซ์จึงเอาเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ มาฝากน้องๆ ก่อนเดินทางไปประเทศออังกฤษ เป็นมารยาททางสังคมและการวางตัว จะได้ไม่เคอะเขินตอนอยู่ที่นู่นค่ะ

Register to read more...